สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณคดี สุนทรภู่

วรรณคดี สุนทรภู่ วรรณกรรมของสุนทรภู่ มีอยู่มากมาย มีทั้งที่เป็น
ประเภทกลอน หรือ นิราศมี ๙ เรื่อง
ผลงานด้าน อื่นๆ ของท่าน มีดังนี้
ประเภทนิทานมี ๕ เรื่อง 1. โคบุตร 2. พระอภัยมณี 3. พระไชยสุริยา 4. ลักษณะวงศ์ 5. สิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิต มี ๒ เรื่อง 1. สุภาษิตหญิง 2.สวัสดิรักษา 3. เพลงยาวถวายโอวาท
ประเภทบทละคร มี ๑ เรื่อง 1. อภัยนุราช
ประเภทเสภา มี ๒ เรื่อง 1. ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม 2. พระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อม มี ๔ เรื่อง 1. จับระบำ 2. กากี 3. พระอภัยมณี 4. โคบุตร

ในสมัยก่อน ยังไม่มีคำว่า นิยาย หรือนวนิยาย เรื่องบันเทิงต่างๆ ยังใช้เรียกกันว่า “นิทาน” ทั้งนั้น แต่เดิมนิทานมักแต่งด้วยลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้ กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทาน ดังนี้ว่า
“ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอน สุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ โคบุตรกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นัก แต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่า โคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย”

คุณวิเศษของท่านสุนทรภู่ที่ทำให้นิทานของท่านโดดเด่นกว่านิทานเรื่องอื่นๆ นอกจากในกระบวน กลอนที่สันทัดจัดเจนเป็นอย่างยิ่งแล้ว ความเป็นปราชญ์ของท่านก็แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง โดยการสอด แทรกคติทั้งทางพุทธทางพราหมณ์ ความรู้ในวรรณกรรมโบราณ คัมภีร์ไตรเพท และความรู้อันน่าอัศจรรย์ เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของโลก ซึ่งกาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่ง
ใน “ภูมิศาสตร์สุนทรภู่”

มีการวิจารณ์กันว่า กลอนนิทานเรื่องลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพนั้น สำนวนอ่อนกว่าเรื่อง
พระอภัยมณีมากนัก ไม่น่าที่ท่านสุนทรภู่จะแต่งเรื่องพระอภัยมณีก่อน ในเรื่องนี้ คุณ…. มีความเห็นว่า เรื่องลักษณวงศ์และสิงหไตรภพนั้น สุนทรภู่อาจจะเป็นเพียงผู้คิดเรื่องและเริ่มกลอนให้ แต่ผู้แต่งจริงๆ คงเป็นลูกศิษย์ของท่าน และท่านสุนทรภู่ช่วยตรวจทานให้

สำหรับเรื่องพระไชยสุริยา ท่านสุนทรภู่แต่งด้วยกาพย์ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนเขียนอ่านของ
เจ้านายน้อยๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงไล่ลำดับความยากง่ายของการอ่าน ตั้งแต่แม่ ก กา เป็นต้น

ประเภท วรรณคดี สุนทรภู่ มี 5 เรื่อง

  1. นิทานโคบุตร วรรณคดี สุนทรภู่
  2. พระอภัยมณี
    • พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
    • นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
  3. พระไชยสุริยา
  4. ลักษณะวงศ์
  5. สิงหไกรภพ

1.นิทานโคบุตร

เป็นนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้

โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหล                                      เห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง

ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทัง                              เหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน

จงปกป้องครองกันเป็นผาสุก                                  อย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้

เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคล                                      หักพระทัยออกจากทวารา

2.พระอภัยมณี

เมื่อกล่าวถึงสุนทรภู่ ต้องนึกถึงเรื่องพระอภัยมณี และถ้าพูดถึงพระอภัยมณี ก็ต้องนึกถึงสุนทรภู่เป็นคู่กัน เรื่องพระอภัยมณีโด่งดังมานานมาก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในคำอธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ตอนหนึ่งว่า “เมื่อข้าพเจ้ายังเยาว์ เป็นสมัยแรกมีหนังสือเรื่องพระอภัยมณีพิมพ์ขาย ครั้งนั้นเห็นคนชั้นผู้ใหญ่ทั้งผู้ชายผู้หญิง ชอบอ่านเรื่องพระอภัยมณีแพร่หลาย ถึงจำกลอนในเรื่องพระอภัยมณีไว้กล่าวเป็นสุภาษิตได้มากบ้างน้อยบ้างแทบจะไม่เว้นตัว” หมอสมิท ซึ่งเข้ามาตั้งโรงพิมพ์ในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ ไล่ๆ กับหมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้พิมพ์ผลงานของท่านสุนทรภู่ ขายดิบขายดีจนร่ำรวย ถึงแก่ออกตามหาทายาทของสุนทรภู่ เพื่อมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งให้ ทำให้เราได้ทราบว่า ทายาทของท่านสุนทรภู่ใช้นามสกุลต่อมาว่า “ภู่เรือหงษ์”

เหตุที่พระอภัยมณีโด่งดังเป็นที่สุด น่าจะมาจากความแปลกแหวกแนวของท่านสุนทรภู่นั่นเอง แม้พระเอกของเรื่องจะยังเป็นโอรสเจ้าเมืองเหมือนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องอื่น แต่แทนที่พระเอกคนนี้จะไปเรียนวิชากษัตริย์ วิชานักรบ กลับไปเรียนดนตรี การออกผจญภัยของพระเอกคนนี้ก็ไม่ได้เจอแค่ยักษ์หรือเทวดาอย่างเรื่องอื่นๆ แต่มีทั้งผีเสื้อสมุทร นางเงือก โจรสลัด แขก ฝรั่ง อาหรับ จีน ฮินดู ฤาษี ชีเปลือย ฯลฯ แล้วยังฉากหลังของเนื้อเรื่องที่เป็นดินแดนผจญภัยอีกเล่า กลับไปอยู่นอกสมุทรอ่าวไทยเสียนี่ !! ความพิสดารของเนื้อเรื่องประกอบกับความสามารถในเชิงการประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ทำให้นิทานเรื่องนี้โดดเด่นมาเป็นร้อยๆ ปีอย่างไม่มีเรื่องใดเทียบได้

พระอภัยมณี เป็นกลอนนิทานที่มีความยาวมากถึง ๙๕ เล่มสมุดไทย แบ่งเป็น ๖๔ ตอน ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ท่านสุนทรภู่แต่งตอนใด เมื่อใด ให้ใคร มีกล่าวกันหลายลักษณะ บ้างก็ว่าท่านแต่งเมื่อครั้งตกยากหรือต้องจำคุก บ้างก็ว่าท่านแต่งถวายเจ้านายที่ให้ความอุปการะ เช่นพระองค์เจ้าลักขณานุคุณบ้าง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพบ้าง ดังนี้

การเล่าเรื่องพระอภัยมณีในที่นี้ ผู้จัดทำยังไม่มีเวลาเสาะหาต้นฉบับที่เป็นกลอนนิทานสมบูรณ์ทั้งเรื่อง จึงจำเป็นต้องจับความจากหนังสือหลายเล่ม เพื่อรวบรวมเนื้อหาส่วนที่เป็นกลอนให้ได้มากที่สุด ส่วนที่ไม่มีกลอน จึงจะเล่าพรรณนาด้วยโวหารธรรมดา แม้จะยังไม่สามารถแสดงกลอนนิทานได้ครบทั้งเรื่อง แต่อัจฉริยภาพของท่านสุนทรภู่ก็ไม่ได้ถูกบดบังหรือลดทอนไปเลยแม้แต่น้อย

“นิทาน” พระอภัยมณี
ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา

เรื่องย่อ

พระอภัยมณีและศรีสุวรรณ เป็นโอรสของท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสรแห่งกรุงรัตนา เมื่อทั้งสองพระองค์ เจริญพระชันษาถึงเวลาต้องเรียนหนังสือ ท้าวสุทัศน์จึงส่งพระโอรสไปศึกษาวิชากับทิศาปาโมกข์ ตามโบราณ ราชประเพณี พระอภัยมณีและศรีสุวรรณออกเดินทางไปจนถึงหมู่บ้านจันตคาม พบทิศาปาโมกข์สองคน คนหนึ่งชำนาญทางปี่ อีกคนหนึ่งชำนาญทางกระบอง ทั้งสองคนมีความเลื่อมใส จึงสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนวิชาอยู่ในสำนัก นั้น พระอภัยมณีเรียนเป่าปี่ ส่วนศรีสุวรรณเรียนการต่อสู้ด้วยกระบอง
ครั้นเรียนสำเร็จแล้ว พระอภัยมณีและศรีสุวรรณก็ลาอาจารย์ทิศาปาโมกข์กลับบ้านเมือง แต่เมื่อท้าวสุทัศน์
ทรงทราบว่าพระโอรสไปเรียนวิชาอะไรมา ก็กริ้วนัก ว่าเลือกเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่สมกับเป็นโอรสของกษัตริย์ จึง ขับไล่พระโอรสทั้งสองออกจากบ้านเมือง ทั้งสองคนเดินทางร่อนเร่ไปได้รับความลำบากนัก ศรีสุวรรณยังปลอบโยน พระอภัยมณี เป็นคติเตือนใจถึงคุณค่าของการมีวิชาความรู้ว่า

มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร                                        ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดี

พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางผ่านป่าเขาลำเนาไพรมาจนถึงชายทะเลแห่งหนึ่ง ในกลอนกล่าวถึง
ว่า “มหิงษสิงขร” และยังมีคำว่าสิงขรอีกหลายแห่ง จนกาญจนาคพันธุ์เชื่อว่าไม่ใช่กลอนพาไป แต่เป็นการจงใจระบุถึงชื่อนี้จริง ๆ นั่นก็คือ “ด่านสิงขร” ชายทะเลเขตไทยทางด้านอ่าวอันดามัน ที่ริมชายทะเลนี้ ทั้งสองพระองค์ได้พบกับพราหมณ์สามสหาย คือโมราผู้มีวิชาผูกสำเภายนต์สานน ผู้มีความ สามารถเรียกลมฝน และวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญการยิงธนู สามารถยิงได้ทีละเจ็ดลูก เมื่อไต่ถามทำความรู้จักกันแล้ว พราหมณ์ทั้งสามสงสัยว่า วิชาดนตรีของพระอภัยมณีนั้นดีอย่างไร พระอภัยมณีจึงเป่าปี่ให้ฟัง ทำให้พราหมณ์ทั้งสาม และศรีสุวรรณหลับไป วรรณคดี สุนทรภู่

บทความที่เกี่ยวข้อง